ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์EP. Special คุยกัน…ประสานมิตร Let’s Talk มาชวนกันคุยเพื่อต้อนรับ Valentine’s Day กับ “…ทฤษฎี ความรัก… ” ผู้ร่วมคุย อ.ดร.อสมา คัมภิรานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา ผู้ชวนคุย ผศ.ดร.อาทิตย์ โพธิ์ศรีทอง รองคณบดีฝ่ายแผนงานและกิจการพิเศษวันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 19.30 น.??? [LIVE] Facebook: ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ มศว #ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการคณะศึกษาศาสตร์
นิยามรักในแต่ละช่วงวัย อะไรบ้างเป็นองค์ประกอบของความรักตามทฤษฎีสามเหลี่ยมความรักของสเติร์นเบิร์ก (Sternbelrg’s Triangular Theory of Love):จากองค์ประกอบของความรักทั้งสาม สามารถจำแนกความรักออกได้เป็น 7 รูปแบบ ดังนี้
1. ความชอบ (liking) เป็นรักที่ประกอบด้วยความใกล้ชิดเท่านั้น เกิดขึ้นกับคนที่เราสนิทสนมใกล้ชิดด้วย เช่น เพื่อน คนรู้จัก
2. รักแบบหลงใหลหรือรักแรกพบ (infatuated love) เป็นรักที่ประกอบด้วยความเสน่หาอย่างเดียว มักเกิดขึ้นได้บ่อย
3. ความสัมพันธ์แบบปราศจากความรัก รักที่ว่างเปล่า (empty love) เป็นรักที่ประกอบด้วยความผูกมัดอย่างเดียว เช่น มีการแต่งงานที่ปราศจากความรู้สึกต่อกัน เพียงแค่อยู่ร่วมกัน (ซึ่งอาจพัฒนาองค์ประกอบอื่นภายหลัง)
4. รักแบบโรแมนติก (romantic love) เป็นรักที่ประกอบด้วยความใกล้ชิด และความเสน่หา เกิดเมื่อบุคคลรู้จักกัน ใกล้ชิดกัน จึงเกิดความรู้สึกปรารถนาจะอยู่ใกล้ชิด ได้สัมผัสและถ่ายทอดความรู้สึกระหว่างกันโดยยังไม่มีพันธะผูกมัด มีแต่ปัจจุบันและไม่คิดถึงอนาคต
5. รักแบบเพื่อน (companionate love) เป็นรักที่ประกอบด้วยความใกล้ชิดและความผูกมัด มักเกิดในความสัมพันธ์ระยะยาว เช่น เพื่อน หรือคู่แต่งงานที่ใช้ชีวิตร่วมกันมานาน
6. รักแบบสายฟ้าแลบ (fatuous) เป็นรักที่ประกอบด้วยความเสน่หาและความผูกมัด โดยบุคคลพบรักและผูกมัดกันอย่างรวดเร็ว ซึ่งรักแบบนี้มักจบลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน
7. รักแท้ (consummate love) เป็นรักที่มีทั้งสามองค์ประกอบ ทั้งความเสน่หา ความใกล้ชิด และความผูกมัด

ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ มศว

Tags: